วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ยานอวกาศ



               

ยานอวกาศ มี 2 ประเภทคือ ยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมและไม่มีมนุษย์ควบคุม
ยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ควบคุม ส่วนใหญ่สำรวจ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ และห้วงอวกาศ
ระหว่างดาวเคราะห์ จะขอกล่าวถึง โครงการที่สำรวจดวงจันทร์คือ
1. โครงการเรนเจอร์ ออกแบบให้ยานพุ่งชนดวงจันทร์
2. โครงการลูน่าออบิเตอร์ กำหนดให้ยานไปวนถ่ายภาพรอบดวงจันทร์
3. โครงการเซอเวเยอร์ ออกแบบให้ยานจอดลงบนพื้นอย่างนุ่มนวล
ยานอวกาศมีมนุษย์ควบคุม เป็นของสหรัฐอเมริกา มีโครงการต่างๆ ดังนี้
1. โครงการเมอคิวรี่ มีจุดประสงค์ที่จะส่งมนุษย์ขึ้นไปโคจรในอวกาศ สำหรับให้มนุษย์อวกาศขึ้นไปครั้งละ 1 คน
โครงการได้ยุติลงไปแล้วในปัจจุบัน
2. โครงการเจมินี มีจุดประสงค์คือ นำมนุษย์ 2 คนขึ้นไปดำรงชีพในอวกาศให้นานที่สุด ฝึกการเชื่อต่อกับยานลำอื่น
ปรับปรุงการนำยานลงสู่พื้นและหาผลกระทบที่เกิดจากสภาวะไร้น้ำหนัก โครงการนี้ได้ยุติลงแล้ว
3. โครงการอพอลโล มีจุดประสงค์คือ นำมนุษย์ไปสำรวจดวงจันทร์ ใช้มนุษย์อวกาศครั้งละ 3 คน เป็นโครงการ
ต่อจากเมอคิวรี่และเจมินี มนุษย์อวกาศชุดแรกที่หยุดบนพื้นดวงจันทร์เป็นชุดอวกาศที่เดินทางไปกับยานอพอลโล 11
โครงการอพอลโลเรียกว่าประสบความสำเร็จตามเป้าหมายมาตลอด มีเพียงอพอลโล 13 ลำเดียวที่เกิดอุบัติเหตุ
ขณะมุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์ อพอลโล 17 ถือเป็นยานลำสุดท้ายที่เกิดในโครงการนี้

                                         

4. โครงการสกายแล็บ จุดประสงค์คือให้มนุษย์ขึ้นไปบนสถานีลอยฟ้าเพื่อค้นคว้าทดลองให้ได้นานที่สุด เป็นโครงการที่ศึกษาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ การแพทย์ ฟิสิกส์ ผลกระทบของสภาพไร้แรงดึงดูด โครงการนี้มี 3 ชุด

                         

5. โครงการอพอลโล - โซยูส มีจุดประสงค์คือ เพื่อขึ้นไป ทดสอบระบบนัดพบและเชื่อมยานอวกาศ เป็นโครงการ
ระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต
6. โครงการยานขนส่งอวกาศ เพื่อใช้เป็นพาหนะสำหรับบรรทุกสิ่งของและมนุษย์ที่ไปบนอวกาศ และเพื่อลดค่าใช้จ่าย ในการใช้ประโยชน์จากอวกาศ ถูกแบบสำหรับคนได้มากถึง 7 คน ในกรณีฉุกเฉินอาจเพิ่มได้เป็น 10 คน ปฏิบัติงานนานครั้งละ 7 วัน พร้อมที่จะใช้งานได้อีกภายใน 14 วัน ถ้าจำเป็นอาจโคจรอวกษสได้นานถึง 1 เดือน ยานลำแรกของ
โครงการชื่อ เอ็นเตอร์ไพรส์ ต่อจากนั้นแบ่งเป็นโคลัมเบีย 7 เที่ยว แชลเลเจอร์ 10 เที่ยว ดิสคัฟเวอรี่ 6 เที่ยว แอตแลนติส 6 เที่ยว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น